วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การออกแบบและการพัฒนานวัตกรรม การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการมีส่วนร่วมของนักเรียน
หลักการข้อเกี่ยวกับมัลติมีเดีย
ริชาร์ด เมเยอร์ (Richard Mayer), ร็อกแซนน์ โมรีโน (Roxanne Moreno)
และคนอื่น ๆ
·       หลักของมัลติมีเดีย: เมื่อใช้ทั้งคำ(เสียงหรือข้อความ) และภาพรวมกัน นักเรียนจำได้ดีมากกว่าการใช้คำเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งนี้เนื้อหาต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
·       หลักการของพื้นที่ต่อเนื่อง: เมื่อนำข้อความและภาพที่เกี่ยวข้องมารวมไว้ในที่เดียว นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีกว่าเวลาที่เนื้อหาอยู่แยกกันคนละพื้นที่
·       หกการของเวลาต่อเนื่อง: เมื่อนำข้อความและภาพที่เกี่ยวข้องมาประสานในจังหวะ.เวลาเดียวกัน นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีกว่าเวลาที่เนื้อหาแสดงต่างช่วงเวลากัน
·       หลักการของการแยกความสนใจ: เมื่อตัดคำ ภาพ และเสียงที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีกว่าเวลาที่รวมสิ่งเหล่านั้นเข้ามา
·       หลักของรูปแบบ: เมื่อนำเสนอเนื้อหาในรูปของการบรรยายด้วยเสียง นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีกว่าเวลานำเสนอในรูปของข้อความบนหน้าจอ
·       หลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล: การออกแบบโดยอาศัยหลักการเหล่านี้ส่งผลต่อผู้มีความรู้น้อยได้มากกว่าผู้มีความรู้ดี และยิ่งส่งผลมากขึ้นต่อคนที่ถนัดด้านมิติสัมพันธ์มากกว่าคนที่ไม่ถนัด
·       หลักของการควบคุมโดยตรง: เมื่อสื่อการสอนเริ่มซับซ้อนขึ้น การควบคุมสื่อการสอนโดยตรง (ภาพเคลื่อนไหว จังหวะการนำเสนอ) จะส่งผลต่อการถ่ายทอดเนื้อหามากขึ้นเช่นกัน

การเรียนรู้ที่ใช้หลายรูปแบบ (ใช้ข้อความหรือเสียงและภาพผสมกันสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ได้หากใช้หลักการของมัลติมีเดีย
การวิเคราะห์เชิงอภิมาน (meta-analysis) พบว่า
                  ถ้าเป็นการเรียนรู้ที่ใช้หลายรูปแบบ แต่โต้ตอบไม่ได้ (เช่นข้อความมีภาพประกอบ หรือการบรรยายพร้อมภาพกราฟิก)
                นักเรียนที่เคยได้เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 จะเปลี่ยนเป็นเปอร์เซ็นไทล์ที่ 71
                แต่ถ้าเป็นการเรียนผ่านกิจกรรมหลายรูปแบบที่มีการโต้ตอบ เช่น การจำลองสถานการณ์ การสร้างโมเดล และประสบการณ์จริง
                นักเรียนที่เคยได้เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 จะเปลี่ยนเป็นเปอร์เซ็นไทล์ที่ 82


                                 
กลยุทธ์ 3 ด้านในการใช้เทคโนโลยีเพื่อดึงประโยชน์จากการทำให้เห็นภาพและเพื่อให้นักเรียนอ่านภาพออก
1.พัฒนานักเรียนให้เป็นผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารที่รู้เท่าทัน
2.ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดเชิงวิพากษ์และการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพ
3. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วยภาพ
การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้บริโภคข่าวสารให้รู้เท่าทัน
                  วิธีการพัฒนานักเรียน
                ให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์วิธีที่นักโฆษณาตกแต่งรูปภาพ
                ผู้บริโภคที่รู้เท่าทันย่อมตระหนักว่าภาพสามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ ร่างกาย และการรับรู้ เราจึงควรตีความสื่อให้เหมาะสม
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดเชิงวิพากษ์และการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพ
                  การทำให้เห็นภาพเป็นเครื่องมือพิเศษสำหรับการคิดเชิงวิพากษ์และการคิดสร้างสรรค์
                  เครื่องมือหนึ่งที่น่าสนใจและใช้ได้ฟรีอยู่ในเว็บไซต์ Gapminder
Gapminder เป็นเครื่องมือสำหรับดูการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ เช่น จำนวนประชากร,เศรษฐกิจ ปริมาณการใช้มือถือ และอื่นๆ
ตั้งแต่ปี 1960 พัฒนาโดย Trendalyzer 
- เครื่องมือนี้จะแสดงข้อมูลเป็นภาพ โดยใช้ข้อมูลจากสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะประชากร สุขภาพ พลังงาน การเมือง ความมั่นคง และสถิติสำคัญอื่น ๆ ทั่วโลก
- แต่ละประเทศแสดงด้วยจุดบนหน้าจอ แต่ละทวีปมีสีไม่ซ้ำกัน
- ผู้ใช้จะกำหนดชุดข้อมูลที่ต้องการลงจุดในแต่ละแกน จากนั้นเครื่องมือจะแสดงการเปลี่ยนแปลงสถานะของประเทศต่าง ๆ ในแต่ละปี
                  ผู้เรียนที่กำลังสำรวจข้อมูลที่แปลงเป็นภาพนี้จะเริ่มตั้งคำถามทันทีว่า เพราะเหตุใดการกลับทิศของแนวโน้มจึงเกิดขึ้นเฉพาะบางปี และปัจจัยอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น สิ่งเหล่านี้ช่วยเปิดโอกาสมากมายสำหรับนักเรียนในการคิดและการแก้ปัญหา
                  คลิกชมคลิปการบรรยายที่ใช้ gapminder ในการนำเสนอข้อมูล



ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วยภาพ

                  การตีความจากภาพ
                  เข้าใจวิธีสร้างภาพเพื่อสื่อสารความคิดของตน การนำเสนอข้อมูล และการเล่าเรื่อง
                เช่น แผนภูมิควรจะเป็นไปตามหลักของพื้นที่ต่อเนื่อง นั่นคือ     ถ้าเป็นไปได้ควรรวมข้อความไว้ในแผนภูมิแทนที่จะใช้คำอธิบายสัญลักษณ์ เพราะสมองต้องทำงานมากขึ้นในการมองกลับไปกลับมา
มาตรฐานหลักในการออกแบบภาพ
                  ความแตกต่าง       เหตุผลที่ใช้ความแตกต่างคือเพื่อในแน่ใจว่าองค์ประกอบแต่ละอย่างของการออกแบบภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ความแตกต่างจะพึงดูดสายตา ทำให้ผู้อ่านสนใจ เช่น ขนาดอักษรที่แตกต่างกัน
                  ตัวอักษรขนาด
20 พอยต์ 28 พอยต์   36 พอยต์

                  การปรากฏซ้ำ       องค์ประกอบที่ปรากฏซ้ำ ๆ ในงานออกแบบจะเพิ่มความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชิ้นงาน เทคนิคการปรากฏซ้ำสามารถใช้กับฟอนต์ รูปร่าง สี ความหนา ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ

                  การจัดตำแหน่ง     ตำแหน่งที่องค์ประกอบต่าง ๆ ถูกจัดวางบนหน้าเว็บจะควบคุมทิศทางสายตาผู้อ่าน ดังนั้นองค์ประกอบแต่ละอย่างควรเชื่อมต่อกับองค์ประกอบทางสายตาอื่น ๆ เช่น
                หัวข้อด้านบน
                ภาพ
                ธรรมชาติของการอ่านจากซ้ายไปขวา (ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย)
                เคลื่อนไหวซ้ำ ๆ

                  ความใกล้ชิด         สายตาคนเราชอบภูมิทัศน์ที่เรียบง่ายสบายตา หากเป็นไปได้สิ่งที่เกี่ยวข้องกันควรถูกจัดวางอยู่ใกล้กัน เพื่อให้เห็นว่าเป็นองค์ประกอบเดียวกันของภาพ ทำให้โครงสร้างไม่รกตา ช่วยจัดระเบียบข้อมูลให้ผู้อ่าน และกำจัดสิ่งรบกวนทางสายตา
นวัตกรรมที่ 2 การอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้คนเรียนรู้ตลอดชีวิต
ในสภาพแวดล้อมแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มทำความรู้ให้เป็นประชาธิปไตย
-ระบบนิเวศของการเรียนรู้กำลังพัฒนาต่อไป มีการเรียนรู้นอกระบบในระดับบุคคลระดับวิชาชีพ ระดับครอบครัว ระดับการงาน และระดับชุมชน ตามความต้องการ ผลประโยชน์ และความรับผิดชอบ
โรงเรียนเป็นบริบทหนึ่งของการเรียนรู้การขยายการเรียนรู้สู่บริบทอื่น
จุดมุ่งหมาย  นำสิ่งที่เกี่ยวข้องและสิ่งที่นักเรียนสนใจเข้ามาอยู่ในชั้นเรียนและบูรณาการการเรียนรู้ในระบบและนอกระบบเข้าด้วยกันในระดับหนึ่ง
ความรับผิดชอบของโรงเรียน การสร้างหลักประกันว่านักเรียนจะได้รับความรู้และเกิดความเชี่ยวชาญในการสำรวจ การมีปฏิสัมพันธ์ และการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมดิจิทัล
                  การรู้จักใช้ข้อมูล
                การค้นหาข้อมูลอย่างรู้จักใช้
                สำรวจเว็บที่เห็นและที่ยังไม่เห็น
                วิพากษ์วิจารณ์เว็บไซต์เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
                พยายามค้นหาข้อมูลอย่างสมดุลและครบถ้วน
เป็นทรัพยากรที่สมบูรณ์ในตัวเอง สามารถใช้ซ้ำเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ได้
ยุคแรก                        
วัตถุเสมือน
ยุคปัจจุบัน                        
วิดีโอบนยูทูบ ไฟล์เสียง วิดีโอสำหรับไอพอด เว็บไซต์แบบโต้ตอบ สไลด์ที่มีคำบรรยาย ฯลฯ
                  นักเรียนจะเรียนรู้ได้ลึกซึ้ง เมื่อสามารถทดลองปรับตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลอง ตัวอย่างเช่น เครื่องมือยุคใหม่ที่ชื่อ Yenka
                  ดูการจำลองในเว็บไซด์  http://www.yenka.com/
                  คลิกเพื่อดูตัวอย่าง
  

                  มหาวิทยาลัย เริ่มมีการเผยแพร่วิชาเรียนทางออนไลน์ สู่สาธารณชนมากขึ้น
                iTunes University
ซึ่งเป็นทรัพยากรอีกแหล่งหนึ่งที่นักเรียนสามารถเข้าถึงวิชาเรียนแบบดิจิทัลของมหาวิทยาลัย รวมถึงการบรรยายและการสัมภาษณ์ต่าง ๆ
นวัตกรรมที่ 3 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
บทเรียนในวิชาออนไลน์
                  การเรียนรู้ทางออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอนในห้องเรียน
                  บางกรณีใช้บทเรียนออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
                  ทุกวันนี้โรงเรียนมุ่งเน้นไปที่การรับความรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งที่ในความเป็นจริง สังคม ชุมชน และโลกของการทำงานต่างเน้นเรื่องความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมรูปแบบทางสังคมใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นนวัตกรรม คือ การใช้เฟซบุ๊ก ยูทูปให้นักเรียนสนใจเรื่องตารางธาตุ

                  ที่โรงเรียน High Tech Middle ในซานดิเอโก นักเรียนสร้างเครือข่ายสังคมเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของตนโดยเปรียบเทียงกับธาตุต่าง ๆ ครูขอให้นักเรียนแจกแจงลักษณะนิสัยของตนเอง ระบุคุณลักษณะของธาตุต่าง ๆ แล้วเลือกธาตุที่มีคุณลักษณะตรงกับนิสัยของตนเองมาที่สุด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น