หัวข้อย่อย
-
พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
-
รู้เท่าทันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-
คุณธรรมจริยธรรมในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-
สภาพปัญหาการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-
การแก้ปัญหาการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์1
นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2
การรู้เท่าทันสื่อ
(Media
Literacy) คืออะไร
• ความสามารถป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อ
การสามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสื่ออย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อให้สามารถควบคุมการตีความเนื้อหาของสื่อที่ดู ฟัง หรือมีปฎิสัมพันธ์ด้วย
แทนที่จะให้การสื่อความหมายของสื่อเป็นไปตามเจตนาของผู้ผลิตมาควบคุม
การรู้เท่าทันสื่อ
หมายถึง การที่เราไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด
วิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งค่าถาม เป็นต้นว่า จริงหรือไม่จริง
ใครเป็นคนให้ข้อมูล เขาต้องการสื่อสารอะไร มีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่
ต้องการสื่อสารให้ใคร ใครได้ประโยชน์ ฯลฯ
"ใช้สื่ออย่างตื่นตัว"
เปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกบ้าง
โดยการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ
สามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์
สื่อมีอิทธิพลต่อความคิด
ความเชื่อ พฤติกรรม
• เมื่อสื่ออยู่ล้อมรอบตัวเรา เห็นบ่อยๆ ได้ยินบ่อยๆ ก็มี
อิทธิพลต่อความคิดของเราได้ คนจำนวนไม่น้อยเมื่อได้ยินคำโฆษณาผลิตภัณฑ์ในครั้งแรกก็คล้อยตาม รีบไปซื้อหามาใช้ทันที เพราะเชื่อว่าใช้แล้วคงขาวสวยเหมือนนางแบบในโฆษณา
อิทธิพลต่อความคิดของเราได้ คนจำนวนไม่น้อยเมื่อได้ยินคำโฆษณาผลิตภัณฑ์ในครั้งแรกก็คล้อยตาม รีบไปซื้อหามาใช้ทันที เพราะเชื่อว่าใช้แล้วคงขาวสวยเหมือนนางแบบในโฆษณา
• สถานการณ์การอ่านของเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบัน พบว่า มีการ
ใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือน้อยลง ตัวเลขจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุด พบว่า เด็กและเยาวชนใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 39 นาที เดิมเคยใช้เวลาอ่านเฉลี่ยวันละ 50 นาที แต่หมกมุ่นดูทีวี เล่นเกม แช็ททางมือถือ และเล่นอินเทอร์เน็ตวันละหลายชั่วโมง เป็นแนวโน้มที่แสดงให้เห็นว่า เด็กและเยาวชน หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ของประเทศเราก็เป็นนักเสพสื่อตัวยง
ใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือน้อยลง ตัวเลขจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุด พบว่า เด็กและเยาวชนใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 39 นาที เดิมเคยใช้เวลาอ่านเฉลี่ยวันละ 50 นาที แต่หมกมุ่นดูทีวี เล่นเกม แช็ททางมือถือ และเล่นอินเทอร์เน็ตวันละหลายชั่วโมง เป็นแนวโน้มที่แสดงให้เห็นว่า เด็กและเยาวชน หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ของประเทศเราก็เป็นนักเสพสื่อตัวยง
บทบาทของ
ICT มีเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
ICT
- ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมหาศาล
- ทำให้กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
- ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในเนื้อหาข้อมูลและสารสนเทศ
- ทำให้เกิดการหลอมรวมสื่อหลายประเภทเข้าด้วยกัน
ทักษะการเรียนรู้เพื่อเท่าทันสื่อมีองค์ประกอบที่สำคัญ
คือ
- ความสามารถในการเข้าถึง
(The
ability to Access)
- ความสามารถในการวิเคราะห์
วิพากษ์ (The
ability to Analyze)
- ความสามารถในการประเมินคุณค่าของสื่อ
(The
ability to Evaluate)
- ความสามารถในการสร้างสรรค์
หรือสื่อสาร (The
ability to Create or Communicate information in a variety of form)
- ความสามารถในการเข้าถึง
(The
ability to Access)
ความสามารถในการวิเคราะห์
วิพากษ์
(The ability to Analyze)
(The ability to Analyze)
- ตีความเนื้อหาสื่อตามองค์ประกอบและแบบฟอร์มของสื่อแต่ละประเภทว่าสิ่งที่สื่อน่าเสนอนั้น
ส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ
- ใช้พื้นความรู้เดิมและประสบการณ์ในการคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้น
- ใช้กลวิธีการวิเคราะห์ต่างๆ
ได้แก่ การเปรียบเทียบ การหาความแตกต่าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเหตุและผล
การล่าดับความสำคัญ ฯลฯ ในการตีความและคาดการณ์ผลที่จะเกิด
ความสามารถในการประเมินคุณค่าของสื่อ
(The ability to Evaluate)
(The ability to Evaluate)
ประเมินคุณภาพของเนื้อหา
ประเมินว่ามีคุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงใด ได้แก่ คุณค่าทางใจ อารมณ์
ความรู้สึก หรือมีคุณค่าทางศีลธรรม จรรยาบรรณ สังคม วัฒนธรรมหรือประเพณี
สามารถน่าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารในด้านใดได้บ้าง
- สร้างความเกี่ยวข้องของเนื้อหากับประสบการณ์
พร้อมเสนอความเห็นในแง่มุมที่หลากหลาย
- ความสามารถในการสร้างสรรค์
หรือสื่อสาร (The
ability to Create or Communicate information in a variety of form)
- การระดมสมอง
วางแผน เรียบเรียง และแก้ไข
- ใช้ภาษาเขียนและภาษาพูดอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดตามหลักของภาษาศาสตร์
- สร้างสรรค์และเลือกภาพอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายต่างๆ
ที่กำหนดไว้
- ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการวางโครงสร้างของเนื้อหา
แนวทางการรู้เท่าทันสื่อและวิเคราะห์สื่อ (Code
of Conduct)
- สื่อคือสิ่งที่สร้างขึ้น
- Media
are Constructions
- สื่อมีเป้าหมายทางธุรกิจ/โฆษณา
- Media
Constructions have Commercial purposes
- สื่อสร้างค่านิยมและอุดมคติ
- Media
messages contain Values and Ideologies
- สื่อทำให้มีผลที่ตามทางการเมืองและสังคม
- Media
messages have Social and Political Consequences
- สื่อแต่ละชนิดมีเอกลักษณ์และข้อจำกัด
- Each
Medium has a unique Aesthetic Form
- รู้เท่าทันสื่อ
ICTอินเทอร์เน็ต (Internet)เด็กและเยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไรบ้าง
?
- สืบค้นข้อมูล
(Search)
หรือ เปิดดูเว็บไซต์
หรือ เวิลด์ ไวด์ เว็บ (WWW – World Wide Web)
- รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หรือ อีเมลล์ (email)
- การแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยผ่านกระดานข่าว
หรือ เว็บบอร์ด (webboard)
- การสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์
(Online
Social Network) เช่น
www.twitter.com
หรือ www.facebook.com
ดูหนัง
ฟังเพลง เล่นเกม บนอินเทอร์เน็ต
- ถ่ายภาพดิจิทัลหรือถ่ายคลิปวิดีโอด้วยกล้องหรือโทรศัพท์มือถือ
อัพโหลด (Upload)
ขึ้นโชว์เพื่อนๆ
• รู้เท่าทันเว็บไซต์ - เมื่ออ่านเนื้อหาข้อมูลบนเว็บไซต์ ต้องรู้จักสงสัยและตั้งคำถาม
ใครเป็นคนเขียนข้อมูลบนเว็บไซต์ คนเขียนมีความชำนาญในเรื่องที่เขียนหรือไม่
ข้อมูลใหม่ทันสมัยหรือตกยุคไปแล้ว
เว็บไซต์นั้นมีเป้าหมายเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัทของเขาหรือต้องการเพิ่มยอดขายสินค้าหรือเปล่า กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์เป็นใคร ผู้เขียนกระทู้มีจุดประสงค์อะไร มีอารมณ์อย่างไรขณะที่โพสต์ กระทู้ และข้อมูลจากเว็บบอร์ดสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้หรือไม่ ฯลฯ
เว็บไซต์นั้นมีเป้าหมายเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัทของเขาหรือต้องการเพิ่มยอดขายสินค้าหรือเปล่า กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์เป็นใคร ผู้เขียนกระทู้มีจุดประสงค์อะไร มีอารมณ์อย่างไรขณะที่โพสต์ กระทู้ และข้อมูลจากเว็บบอร์ดสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้หรือไม่ ฯลฯ
– การตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบ
– เลือกเว็บไซต์ดีๆ ที่มีสาระ เว็บไซต์ข่าวสาร เว็บไซต์สุขภาพ
– พบเห็นเว็บไซต์เนื้อหาไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย เป็นอันตรายต่อเด็ก
ละเมิดต่อสถาบันอันเป็นที่รักของเราชาวไทย เป็นภัยต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ
ช่วยกันสอดส่องและปราบปราม โดยแจ้งชื่อเว็บไซต์
ดังกล่าวไปที่
• เว็บไซต์ไทยฮอตไลน์ www.thaihotline.org หรือ
• สำนักงานตำรวจแห่งชาติ webmonitor.police.go.th หรือ
• กระทรวงไอซีที www.mict.go.th/main.php?filename=complaint
รู้เท่าทันคนบนอินเทอร์เน็ต
ไม่ใช่ว่าทุกคนที่พูดคุยกับเราบนโลกออนไลน์จะเป็นมิตรเสมอไป
โลกอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้แต่ละคนสามารถสร้างตัวตนใหม่ที่สวยกว่า รวยกว่า
นิสัยดีกว่า หลอกลวงกันได้ง่ายๆ
ต้องตระหนักรู้ในความจริงที่ว่า
แม้เราแช็ทหรือส่งอีเมลพูดคุยกับใครสักคนมาแล้ว 1 เดือน หรือ 3 เดือน ก็ไม่ได้แปลว่าเรารู้จักเขาแล้ว
เพราะการติดต่อสื่อสารกันบนอินเทอร์เน็ตนั้น
เริ่มต้นจากการพูดคุยกันด้วยตัวหนังสือ ดูรูปถ่ายที่เขาส่งมาให้
ซึ่งอาจไม่ใช่ภาพจริงนิสัยจริงก็ได้
• ต้องรู้ว่าของทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ตมีเจ้าของ
– ใช่ว่าทุกอย่างที่เห็นบนหน้าจอจะก๊อปปี้มาใช้ได้ หนัง เพลง รูปภาพ
โปรแกรม บทความ ผลงานต่างๆ บนเน็ตล้วนมีเจ้าของ งานบางชิ้นมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
มีการคุ้มครองตามกฎหมาย
• ต้องไม่หมิ่นประมาท หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
– แม้อินเทอร์เน็ตจะเปิดให้รับรู้ข่าวสาร จะพูด จะเขียน
หรือแสดงความคิดเห็นก็สามารถท่าได้ง่ายๆ ในเวทีสาธารณะอย่างเว็บบอร์ดหรือแช็ทรูม
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่
มีขอบเขต สิทธิเสรีภาพที่ดีจะต้องไม่ไปละเมิดผู้อื่น ดังนั้น การส่งต่อ (forward) คลิปลับดารา การโพสต์กระทู้ด่าทอ เสียดสีคนอื่น การตัดต่อภาพที่ทำให้เจ้าตัวได้รับความอับอายหรือถูกดูหมิ่นเกลียดชังจากสังคมนั้นผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ไม่ควรกระทำ
มีขอบเขต สิทธิเสรีภาพที่ดีจะต้องไม่ไปละเมิดผู้อื่น ดังนั้น การส่งต่อ (forward) คลิปลับดารา การโพสต์กระทู้ด่าทอ เสียดสีคนอื่น การตัดต่อภาพที่ทำให้เจ้าตัวได้รับความอับอายหรือถูกดูหมิ่นเกลียดชังจากสังคมนั้นผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ไม่ควรกระทำ
ต้องรู้ว่าของฟรีไม่มีในโลก
มีเว็บไซต์หลายแห่งชอบโปรโมทตัวเองว่าแจกฟรีโปรแกรม
หนัง เพลง
พวกเรามักตื่นเต้นเวลาได้ยินค่าว่า “ฟรี” จงระลึกไว้เสมอว่าของฟรีไม่มีในโลก ต้องมีใครสักคนที่จ่ายค่าความคิด ค่าผลิต และค่าโฆษณา ถ้ามีคนลงทุนแล้วเขาได้อะไรจากการแจกฟรี
พวกเรามักตื่นเต้นเวลาได้ยินค่าว่า “ฟรี” จงระลึกไว้เสมอว่าของฟรีไม่มีในโลก ต้องมีใครสักคนที่จ่ายค่าความคิด ค่าผลิต และค่าโฆษณา ถ้ามีคนลงทุนแล้วเขาได้อะไรจากการแจกฟรี
ต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม
ไม่เล่นเน็ต
แช็ทกับเพื่อน อ่านการ์ตูนออนไลน์ ดูหนัง ฟังเพลง
เพลิดเพลินกับกิจกรรมมากมายบนอินเทอร์เน็ตจนลืมการเรียน หรือจะต้องช่วยงานบ้านพ่อแม่
เพลิดเพลินกับกิจกรรมมากมายบนอินเทอร์เน็ตจนลืมการเรียน หรือจะต้องช่วยงานบ้านพ่อแม่
ต้องรู้จักมารยาทพื้นฐานในการใช้อินเทอร์เน็ต
o ใช้อินเทอร์เน็ตทำแต่กิจกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เป็นภัยต่อสังคม
o ใช้ภาษาสุภาพ เคารพและให้เกียรติผู้อื่น การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง
o คิดก่อนโพสต์ หรือส่งอีเมลล์
o แบ่งปันความรู้และข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ ดังคำกล่าวที่ว่า “ เนื้อหาดีให้กด like เนื้อหาร้ายไม่กด share ” อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลข่าวสารนั้นก่อนที่จะกดไลค์หรือแชร์
o ควบคุมอารมณ์ เวลาแสดงความคิดเห็นบนเวทีสาธารณะอย่างเว็บบอร์ด จงยอมรับความเห็นที่แตกต่าง ควรรู้จักยับยั้งชั่งใจหรือควบคุมอารมณ์
o เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ไม่เปิดอ่านอีเมลล์ของคนอื่น ไม่ส่งต่อข้อมูลหรือความลับของคนอื่น
รู้เท่าทันสื่อ
ICT เกม (Game)
เกมถูกสร้างมาเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานหลายอย่างของคน
ถูกออกแบบมาอย่างดีโดยนักออกแบบและพัฒนาเกม ในเกมเราทำภารกิจซ้ำๆ ได้หลายครั้ง
เช่น ลองผิดลองถูก ตายแล้วรีเซตเกมใหม่
แต่ในชีวิตจริงเรื่องบางเรื่องเราลองหลายครั้งไม่ได้ เราตายได้ครั้งเดียวเท่านั้น
เราสร้างตัวตน ฝึกฝนจนเก่งกาจ เป็นที่ยอมรับได้ไม่ยากในเกม
เราอาจเป็นแชมป์เทนนิสในเกมได้ในเวลาเพียงสามเดือน
แต่ในชีวิตจริงนักเทนนิสมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายใช้เวลาเป็นสิบๆ
ปีกว่าจะก้าวขึ้นมาถึงจุดที่ได้รับการยอมรับอย่างที่เห็น เกมท้าทายความสามารถ
มีด่านยากง่ายให้เล่น มีปริศนาให้แก้ โจทย์ยากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งท้าทายผู้เล่น
เกมเติมเต็มจินตนาการ เช่น การผจญภัยในโลกแฟนตาซี เราได้สวมบทบาทตัวละครต่างๆ
ในเกม เกมออนไลน์ทำให้เรามีเพื่อนใหม่ๆ
เกมทำให้เราหลุดออกจากโลกที่จำเจอย่างการงาน การเรียน หลายๆ
เหตุผลที่กล่าวมาแล้วนี่เอง ที่ท่าให้คนชอบเล่นเกม และบางรายถึงกับติดเกม
รู้เท่าทันสื่อ
ICTเกม (Game) การเล่นเกมส่งผลอย่างไร?
ด้านบวก
เกมสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะมีความสมจริงทั้งภาพ แสง สี และเสียง
ผู้เล่นสามารถสวมบทบาทเป็นตัวละครในเกมได้ ทำให้เข้าถึงอารมณ์ในเกม
เกมออนไลน์ทำให้เด็กๆ มีเพื่อนใหม่ที่ร่วมเล่นเกม ทำภารกิจในเกมร่วมกัน
เกมยังมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น คลายเครียด ให้ความสนุก เกมฝึกทักษะ เช่น เกมกีฬา
ฝึกพิมพ์ดีด ฝึกภาษา เกมเฉพาะด้าน เช่น เกมฝึกขับเครื่องบิน การใช้อาวุธ
ฝึกยุทธวิธีการรบในวงการทหาร เกมฝึกผ่าตัดในวงการแพทย์ เป็นต้น
ด้านลบ
เกมอาจท่าให้เกิดโทษหากเด็กเลือกเกมไม่เหมาะสม
หรือเล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เช่น หากเด็กเล่นเกมรุนแรง เกมผิดศีลธรรม
ก็จะซึมซับ คุ้นชิ้นกับพฤติกรรมนั้นๆ ในเกมไปด้วย การใช้เวลาเล่นเกมมากเกินไป
ท่าให้เด็กติดเกม เป็นโรคเก็บตัว ซึมเศร้า ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
ละเลยการเรียนและกิจกรรมอื่นๆ อาจก่อปัญหาอาชญากรรมเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเกม
พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลเด็กไม่ให้เล่นเกมมากจนเกินไป ควรเล่นเกมหลากหลายประเภท
และเลือกเกมที่เหมาะกับเพศและวัยให้กับลูก
การติดเกม
• อยากเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา มีภาพเกมในหัว
อยากเพิ่มเวลาเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่พยายามลดหรือตัดกิจกรรมอื่นๆ
จะโมโหโกรธาหากไม่ได้เล่นหรือถูกบอกให้เลิกเล่น
มักปลีกตัวจากสังคมและครอบครัวเพื่อมาเล่นเกม เกิดปัญหาต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ
และสังคม
• การป้องกันเด็กติดเกมโดยการฝึกระเบียบวินัยและการควบคุมเวลา
การเล่นเกมของเด็กตั้งแต่ต้น ย่อมเป็นการป้องกันที่ดีกว่ามาตามแก้ไขกันเมื่อเด็กโตแล้ว
การเล่นเกมของเด็กตั้งแต่ต้น ย่อมเป็นการป้องกันที่ดีกว่ามาตามแก้ไขกันเมื่อเด็กโตแล้ว
รู้เท่าทันเกม
• ควรรู้ทันเกม – เกมถูกสร้างขึ้นมาให้ติด
คือสนุกสนาน สมจริง
ท้าทาย สนองตอบความต้องการพื้นฐานหลายอย่างของมนุษย์
ดังนั้น ยิ่งผู้เล่นเล่นนานเท่าไหร่ เล่นหลายเกมเท่าไหร่ เล่นในระดับสูงขึ้นเท่าไหร่ บริษัทเขาก็ยิ่งได้เงินมากขึ้นเท่านั้น
ท้าทาย สนองตอบความต้องการพื้นฐานหลายอย่างของมนุษย์
ดังนั้น ยิ่งผู้เล่นเล่นนานเท่าไหร่ เล่นหลายเกมเท่าไหร่ เล่นในระดับสูงขึ้นเท่าไหร่ บริษัทเขาก็ยิ่งได้เงินมากขึ้นเท่านั้น
• สำรวจตัวเอง ติดเกมหรือไม่
• ควรรู้ทันเนื้อหาของเกม – เกมมีเนื้อหา
มีเรื่องราว มีภารกิจที่ผู้เล่นจะต้องท่าให้ได้ในเกม
ผู้เล่นจะต้องเข้าใจว่าเกมเป็นเพียงเรื่องสมมุติที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกสนานบันเทิง
เพิ่มสีสัน สร้างอรรถรส ไม่ใช่เรื่องจริง ผู้เล่นจะต้องแยกให้ออก ไม่ซึมซับอารมณ์
บทบาท
หรือภารกิจที่ต้องท่าในเกมเอาออกมาใช้ในที่ต้องท่าในเกมเอาออกมาใช้ในชีวิตจริง
เคยมีเด็กประถมกระโดดลงจากโต๊ะเลียนแบบในเกม แต่ผลคือเด็กขาหัก
เคยมีวัยรุ่นจี้ชิงทรัพย์คนขับแท็กซี่เลียนแบบวิธีหาเงินในเกม
แต่ผลคือวัยรุ่นพลั้งมือฆ่าคนขับแท็กซี่แล้วโดนตำรวจจับ
ควรเลือกเกมให้เหมาะสมกับเพศและวัย - เลือกเกมที่เป็นประโยชน์ หรืออย่างน้อยไม่เป็นโทษต่อตัวเรา อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมบ่อยๆ แม้รู้ทันเนื้อหาของเกม แต่บางครั้งก็ อาจติดหรือซึมซับอารมณ์ พฤติกรรมหรือบทบาทในเกมโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น พฤติกรรมชกต่อย ขับรถเร็ว ขโมยของ เป็นต้น ทางที่ดีคือไม่เล่นเกมใดเกมหนึ่งติดต่อกันซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลายเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้หมกหมุ่นหรือติดเกม ติดพฤติกรรมในเกมแล้วเอามาใช้ในชีวิตจริง
ควรเลือกเกมให้เหมาะสมกับเพศและวัย - เลือกเกมที่เป็นประโยชน์ หรืออย่างน้อยไม่เป็นโทษต่อตัวเรา อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมบ่อยๆ แม้รู้ทันเนื้อหาของเกม แต่บางครั้งก็ อาจติดหรือซึมซับอารมณ์ พฤติกรรมหรือบทบาทในเกมโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น พฤติกรรมชกต่อย ขับรถเร็ว ขโมยของ เป็นต้น ทางที่ดีคือไม่เล่นเกมใดเกมหนึ่งติดต่อกันซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลายเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้หมกหมุ่นหรือติดเกม ติดพฤติกรรมในเกมแล้วเอามาใช้ในชีวิตจริง
รู้เท่าทันสื่อ
ICTโทรศัพท์มือถือข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ
•
ร้อยละ 78.7 ระบุมีโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง ร้อยละ 17.4
ระบุมีโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง ขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุมีโทรศัพท์มือถือมากกว่า 2
เครื่อง
•
ร้อยละ49.4 ระบุใช้โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอสี รองลงมาหรือร้อยละ
43.8 ระบุใช้สมาร์ทโฟน เช่น ไอโฟน (iPhone) แบลคเบอร์รี่
(BlackBerry)
ซัมซุงกาแลคซี่
(Samsung
Galaxy) ร้อยละ12.7
ใช้โทรศัพท์มือถือประเภท 2 ซิม และร้อยละ 7.7
ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอขาว-ด่า
•
ค่าบริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือน พบว่า ร้อยละ 26.6 ใช้ไม่เกิน 300
บาท ร้อยละ 36.3 ใช้ตั้งแต่300บาทแต่ไม่เกิน 500 บาท ร้อยละ 26.6 ใช้ตั้งแต่ 500
บาท แต่ไม่เกิน 1,000
บาท และร้อยละ 10.5 ใช้ตั้งแต่ 1,000
บาทขึ้นไป เฉลี่ยค่าบริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือนอยู่ที่ 480 บาท
• ควรรู้ทันโฆษณามือถือ – บ่อยครั้งที่เราเห็นดารา นางแบบ นักร้อง หรือศิลปินที่น้องๆ
ชื่นชอบเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาโทรศัพท์มือถือยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้
ไม่เฉพาะโทรศัพท์มือถือ แต่เป็นสินค้านานาชนิด
บริษัทผู้ผลิตจ้างศิลปินมาใส่เสื้อผ้าสวยๆ
มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดอยู่ในมือ และพูดโน้มน้าวให้เชื่อว่าโทรศัพท์ดีอย่างไร
กระผม (ดิฉัน) ติดใจตรงไหน ที่รูปทรงสวยน่าสมัย ติดกล้องความละเอียดสูง
ถ่ายภาพแล้วกดแชร์บนเน็ตได้เลย ฯลฯ เหล่านี้
เป็นเทคนิคทางการค้าที่เอาดาราที่กำลังได้รับความนิยม
เอานักร้องที่วัยรุ่นยึดถือเป็นแบบอย่างมาโฆษณา เด็กๆ พร้อมจะท่าตามทุกอย่างที่ศิลปินในดวงใจของเขาบอก
เด็กๆ ต้องรู้ว่าดาราไม่ได้ใช้สินค้าทุกตัวที่โฆษณาแน่ๆ
และเราก็ไม่จ่าเป็นต้องท่าตามไปเสียทุกเรื่อง การเลือกซื้อสินค้า ควรดูที่ราคา
ความจ่าเป็นในการใช้งาน ความคุ้มค่า อย่าตามเพื่อน อย่าตามแฟชั่น
เป็นตัวของเราเองดีที่สุด
• อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
• ไม่ควรหลงโปรโมชั่นมือถือ - ด้วยการแข่งขันทางธุรกิจ
ผู้ประกอบการมักเสนอแพ็กเกจบริการหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า
เป็นต้นว่า ยิ่งคุยนานยิ่งราคาถูก , ส่ง SMS 10 แถมฟรี 1 , เหมาจ่ายรายเดือนโทรไม่อั้น เป็นต้น
• อย่ารับแจกซิมฟรี – ตอนรับแจกซิมฟรี มักต้องกรอกใบสมัคร เซ็นชื่อ
แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เรามักไม่ค่อยอ่านเอกสาร
เพราะมัวตื่นเต้นกับของฟรีจนต้องรีบรับรีบเซ็นชื่อ
แต่นั่นเท่ากับเราสมัครจ่ายซื้อแพ็คเกจอื่นๆ ไปด้วย
• ถูกรบกวนทางมือถือ – ดูดวง ฟังขำขัน รับข่าวสาร ชิงโชค ขายสินค้านานาชนิด ฯลฯ
เยอะแยะไปหมด ถ้าอยากบอกเลิกก็โทรหาผู้ให้บริการเครือข่ายที่เราใช้อยู่ ที่หมายเลข
Call
center ของแต่ละค่าย
แจ้งขอระงับรับบริการข่าวสาร ดูดวง ขายของต่าง ๆ แต่หากยังไม่ได้เรื่อง ให้ติดต่อ
1200 กด 1 บริการโทรฟรี ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) หรือ ทางเว็บไซต์ www.tci.or.th อีเมล tci.service@hotmail.com
• ทดลองใช้บริการฟรี แต่เสียเงิน – ตัวอย่างเช่น
มีการเสนอบริการเสียงรอสายฟรี 7 วัน ตอบตกลงเพราะคิดว่าครบ 7 วัน
จะรีบบอกยกเลิกบริการทันที จะได้ไม่เสียสักบาท แต่ที่ไหนได้ยกเลิกไม่ได้
แถมมีข้อความแจ้งเก็บเงินล่วงหน้า 1 เดือน ใช้ครบ 1 เดือน ถึงจะได้รับบริการฟรีอีก
7 วัน ทราบแล้วเปลี่ยน อย่าคิดเอาเปรียบเขาเพราะเราไม่มีทางได้เปรียบบริษัทหรอก
• เน็ตความเร็วสูง ขายฝัน -ความเร็วของเครือข่ายและเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูล เช่น 3G, Wi-Fi, GPRS,
EDGE ด้วย ดังนั้น
หากจังหวัดของเรา
ท้องที่ของเรายังไม่มีบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากพอ
ซื้อสมาร์ทโฟนมาก็เสียเปล่า เพราะเน็ตเต่า คงดูวิดีโอ คุยกันสดๆ ทั้งภาพและเสียงไม่คมชัดรวดเร็วอย่างที่เห็นในทีวีแน่ๆ
• โรคติดมือถือ –ตื่นเช้าก็รีบควานหามือถือก่อน ต้องเช็คดูว่าพลาดรับไปกี่สาย มี SMS อะไรมาบ้าง ต้องรีบตอบก่อนทำอย่างอื่น
หูแว่วได้ยินเสียงโทรศัพท์หรือ SMS เข้ามาบ่อยๆ
จะกินข้าว เข้าห้องน้ำ เข้านอน ก็ต้องติดมือถือไว้กดดูได้ตลอด
ว่างเมื่อไหร่ต้องยกมือถือขึ้นมาดู ไม่มีใครโทรมาก็ขอโทรหาใครสักคน
• อย่าลืมเรื่องมารยาทในการใช้มือถือ – ไม่คุยโทรศัพท์บนโต๊ะอาหารหรือเวลามีแขก
ยกเว้นถ้าจำเป็นก็คุยให้สั้นได้ใจความแล้วรีบวางสาย ไม่พูดคำหยาบ ไม่คุยเสียงดังในที่สาธารณะ
เพราะไม่มีใครอยากได้ยินเรื่องส่วนตัวของเรา อย่าให้เบอร์มือถือกับคนแปลกหน้า
อย่าเอาโทรศัพท์คล้องคอล่อโจร
และหมั่นชาร์ตแบตเตอรี่และเติมเงินไว้ให้พอใช้ได้ในยามฉุกเฉิน
และควรเก็บหมายเลขสำคัญ ๆ ของพ่อแม่ เพื่อน และหมายเลขฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ เช่น
ตำรวจ รถดับเพลิง โรงพยาบาล จะได้โทรด่วนได้ในยามคับขันจำเป็น
แต่อย่าโทรด้วยคึกคะนองไปก่อกวนแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย เพราะจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน
คุณธรรมจริยธรรมในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3
หัวข้อย่อยการแพร่ระบาดของเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม
Webcam
- อาชญากรคอมพิวเตอร์
เช่น แฮกเกอร์
- การแพร่ระบาดของไวรัสคอม
สภาพปัญหาการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4
ปัญหาการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนในสังคมลดลงสังคมก้มหน้า
– การหมกมุ่นเพลิดเพลินอยู่ในโลกของตัวเอง
ทำให้การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง
– การแก้ไขนั้น อาจทำได้โดยการแบ่งเวลาในการใช้งานให้เหมาะสม
ไม่หมกมุ่นจนเกินไป ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น